บริษัท ท็อปอัพ จำกัด
สมัครตัวแทน ชื่อผู้ใช้   จำรหัสผ่าน 

ไก่คอดอก

ไก่คอดอก


โรคคอดอกเป็นโรคติดต่อของสัตว์ปีก โดยเฉพาะไก่ชน ไก่ชนที่เป็นโรคคอดอกอาการจะกินอาหารได้ลดลง มีอาการกลืนอาหารลำบาก ไก่ชนจะทำท่ากลืนอาหาร จิกกินอาหารแต่สะบัดทิ้ง คอดัง น้ำตาไหล บางตัวขันไม่ออก เมื่อดูในช่องปากไก่ชนที่อาการยังไม่หนัก จะพบเมือกสีขาวหรือเหลืองในบริเวณช่องปาก โคนลิ้น กระเพาะพัก ช่องปากจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ในกรณีที่ไก่ชนอาการหนักจะพบเป็นดอกสีขาวหรือเหลืองแพร่ขยายตัวจนเต็มช่องปาก หากไม่รีบทำการรักษา ไก่ชนจะตายลงในที่สุด
 
คอดอกคือ ชื่อสากลคือ แคงเกอร์
เป็น โรคที่เกิดจากการ ติดเชื้อ โปรโตซัว trichomoniasis หรืออาการติดเชื้อ ทริโคโมนาส กัลลิเน (Trichomonas gallinae) พบบ่อยในนก พิราบ คานารี นกฟินซ์ ไก่และ นกล่าเหยื่อ รวมไปถึง นกปากขอ และ นกชนิดอื่นๆ โดยเชื้อทริโคโมนาส ที่พบ จะมีหลายสายพันธุ์ ความรุนแรงของเชื้อ มีตั้งแต่ สายพันธุ์ที่ไม่ก่อโรค จนถึงสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงมากๆ ติดต่อกันโดยระบบทางเดินอาหาร
 
วิธีป้องกันคือการรักษาที่ดีที่สุด เนื่องจากคอดอกเป็นโรคที่เกิดในระบบทางเดินอาหาร ปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดโรคคอดอกในไก่ชน คือ อาหารที่ไก่ชนกินเข้าไปนั่นเองคับ ดังนั้นควรตรวจดูอาหารที่นำมาให้ไก่ชนกินนั้นต้องสะอาด ถ้าเป็นข้าวเปลือกอาจจะต้องน้ำไปล้างน้ำ ตากแดดก่อนนำมาให้ไก่ชนกิน รวมไปถึงการใส่ถุงมือ หรือพื้นที่เราโยนอาหารให้ไก่ชนกิน ต้องหมั่นทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาด ก็สามารถฆ่าเชื้อโปรโตซัวได้เป็นอีกหนึ่งวิธี